คณะ/สาขาวิชา

คณะนิติศาสตร์

คณะบริหารธุรกิจ

คณะรัฐศาสตร์

คณะสื่อสารมวลชน

 


 พรีดีกรี (Pre-degree) สะสมหน่วยกิตล่วงหน้าavcılar otelleri มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ระบบสะสมหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยรามคำแหงล่วงหน้าแบบ kucukcekmece escort ไม่รับปริญญาพัฒนาศักยภาพระหว่างเรียน เทียบโอนจบปริญญาตรีได้ไวขึ้น

พรีดีกรี (Pre-degree) คืออะไร

พรีดีกรีเป็นการเรียนเพื่อสะสมหน่วยกิตในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรามคำแหงล่วงหน้า โดยอนุญาตให้ผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับม.ต้น(วุฒิ จบ ม.3 หรือ กศน.จบ ม.3) เป็นต้นไปมาสมัครเป็นนักศึกษาระดับพรีดีกรีได้ โดยเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาใดๆก็ได้ของคณะที่สนใจได้เลย

พรีดีกรี เหมาะกับใคร ?

พรีดีกรีเหมาะอย่างยิ่งสำหรับน้องๆที่กำลังเรียนอยู่ ม.ปลาย (หรือเทียบเท่า) รวมถึงน้องๆ ปวช. istanbul escort ที่ต้องการสะสมหน่วยกิตของมหาวิทยาลัย เพื่อจะได้จบปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เร็วขึ้น (ถ้ามีวุฒิ ม.6 อยู่แล้ว สมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติได้เลย) สำหรับนักศึกษา ปวส. ก็สามารถสมัครเรียนได้แต่ขอให้พิจารณาการลงทะเบียนในระบบพรีดีกรีไม่ให้ซ้ำซ้อนกับหน่วยกิตที่จะสามารถเทียบโอนจากวุฒิ ปวส. ได้ในอนาคต โดยอาจเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาเอกได้เลย และเมื่อเรียนจบ ปวส.แล้ว ก็ให้เทียบโอนหน่วยกิตจากปวส.+หน่วยกิตที่สะสมได้ตอนเรียนพรีดีกรี เพื่อสมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติ

ช่วงเวลาค้นหาตัวเอง

การเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดโอหาสให้ทุกคนได้มีเวลาค้นหาตัวเองโดยเฉพาะเรื่องการเรียน และระบบพรีดีกรีไม่สังกัดคณะใดๆ หมายความว่า นักศึกษาพรีดีกรีไม่ใช่นักศึกษาของคณะใดคณะหนึ่ง ลอยตัวอยู่เหนือคณะทั้งหมด ถึงแม้ว่าตอนสมัครเรียนเขาจะให้เราเลือกคณะไปแล้วนี่นา? การที่มหาวิทยาลัยถามคณะตั้งแต่ตอนที่สมัคร ก็เพราะมหาวิทยาลัยจะได้เลือกหยิบวิชาในคณะที่เราสนใจมาให้เรา เป็นการอำนวยความสะดวกให้ตอนสมัครครั้งแรกเท่านั้น
 สมมติ ถ้าตอนนี้ชอบรัฐศาสตร์และมุ่งมั่นว่าในอนาคตก็จะเรียนคณะรัฐศาสตรแน่ๆ ก็ให้เราหยิบวิชาของรัฐศาสตร์มาสอบสะสมไว้ในระบบพรีดีกรีเรื่อยๆไปก่อน มันจะเป็นตัวช่วยให้เราจบรัฐศาสตร์ตอนที่เป็นนักศึกษาภาคปกติได้เร็วขึ้น
 แต่ถ้าเรียนไปแล้วเกิดเปลี่ยนใจขึ้นมาล่ะ ? ก็อย่างที่บอกว่า “พรีดีกรีไม่สังกัดคณะใดๆ” ถ้าเราไม่ชอบรัฐศาสตร์แล้ว แต่หันไปชอบสื่อสารมวลชนแทน เราก็เปลี่ยนไปหยิบวิชาของคณะสื่อสารมวลชนมาสอบสะสมต่อได้เลย ไม่ต้องแจ้งใคร ไม่ต้องแจ้งมหาวิทยาลัย แค่นี้เอง
“…ปีนี้ชอบรัฐศาสตร์ ปีหน้าอาจจะชอบสื่อสารมวลชนขึ้นมาก็ได้นี่นา…”

ระบบพรีดีกรี และ ภาคปกติ เรียนต่างกันไหม ?

การเรียนระบบพรีดีกรี กับ การเรียนในภาคปกติ เหมือนกันเกือบทุกประการ คือ นักศึกษาพรีดีกรีเลือกสะสมหน่วยกิตได้ทุกสาขาวิชา ใช้กำหนดการในปฏิทินการศึกษาเดียวกัน เรียนเนื้อหาเดียวกัน เรียนห้องเดียวกัน ใช้ข้อสอบชุดเดียวกันกับนักศึกษาภาคปกติ และนักศึกษาพรีดีกรีต้องดูและตัวเองในทุก ๆ ด้าน ทั้งการวางแผนลงทะเบียนเรียน การสอบ ซึ่งจะต้องมีการแบ่งเวลาการเรียนทั้งที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นอย่างดี

เรียนพรีดีกรีจะได้รับปริญญาไหม ?

การเรียนระบบพรีดีกรีไม่สามารถจบการศึกษาระดับปริญญาตรีได้ เนื่องจากระบบพรีดีกรีเป็นการสะสมหน่วยกิตเท่านั้น แต่หน่วยกิตที่สะสมไว้จะปูทางไปสู่การจบปริญญาตรีได้เร็วขึ้น ! (อ่านกรณีสมมติจะเข้าใจได้มากขึ้น)
        กรณีสมมติ น้อง A สมัครเป็นนักศึกษาพรีดีกรีด้วยวุฒิ ม.3 และกำลังเรียน ม.ปลายอยู่ด้วย หลังจากสมัครเรียนแล้วเวลาผ่านไป 3 ปี ปรากฎว่าน้อง A สะสมหน่วยกิตขณะเรียนพรีดีกรีได้ 100 หน่วยกิต จนเกือบครบตามหลักสูตรปริญญาตรีแล้ว(วงกลมสีเขียว) และถ้าสะสมอีกไม่กี่หน่วยกิตก็จะทำให้น้อง A เรียนครบหลักสูตรทันที แต่น้อง A จะจบปริญญาตรีไม่ได้… ถ้าไม่นำวุฒิ จบ ม.6 มาเปลี่ยนระบบให้เป็นนักศึกษาภาคปกติเสียก่อน
        ถ้าต้องการจบการศึกษาและรับพระราชทานปริญญาบัตร น้อง A ต้องลาออกจาการเป็นนักศึกษาพรีดีกรี และมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติด้วยวุฒิฯ ม.6 และลงทะเบียนเรียนหน่วยกิตที่เหลือ(วงกลมสีม่วง) พร้อมกับเทียบโอนหน่วยกิตที่เคยสะสมเอาไว้ตอนที่เรียนพรีดีกรี(วงกลมสีเขียว)เข้าด้วยกัน จากนั้นเรียนและสอบในระบบปกติให้เสร็จสิ้น หากสอบผ่านทั้งหมดก็จะถือว่าจบการศึกษาทันที เข้าพิธีพระราชทานปริญญาบัตรได้ (บางคนสมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติและเรียนต่อเพียงเทอมเดียวก็จบการศึกษาได้เลย เพราะสะสมหน่วยกิตตอนพรีดีกรีเอาไว้มากนั่นเอง)

ตัวอย่าง

นาย A เป็นนักเรียนชั้น ม.4 อายุ 16 ปี สมัครเรียนในแผนการเรียนคณะนิติศาสตร์(แผนการเรียน 140 หน่วยกิต) ผ่านไป 3 ปี สามารถสอบสะสมหน่วยกิตได้ 100 หน่วยกิต(วงกลมสีเขียว) สอบสะสมอีกเพียง 40 หน่วยกิต ก็จะเรียนครบตามแผนการเรียนแล้ว และในตอนนี้เขาก็เรียนจบชั้น ม.6 พอดี จึงทำการเลื่อนสถานะตนเองให้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีและเทียบโอนหน่วยกิตที่สะสมได้(วิธีการเลื่อนสถานะตนเองคือ ลาออกจากพรีดีกรี และยื่นวุฒิจบ ม.6 เพื่อสมัครเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีพร้อมเทียบโอนหน่วยกิตจำนวน 100 หน่วยตามไปด้วย)ในตอนนี้นาย A เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว แล้วยังมีหน่วยกิตสะสมถึง 100 หน่วยกิต เขาเพียงสอบสะสมหน่วยกิตที่เหลือ(วงกลมสีม่วง)ให้ครบ ก็จะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีได้ และด้วยหน่วยกิตที่เหลือเพียง 40 หน่วยกิต เขาสามารถสอบสะสมทั้งหมดได้ภายใน 1 ปีการศึกษา เขามีโอกาสจบปริญญาตรีตั้งแต่อายุ 19 ปีได้เลย

 

เริ่มก่อน = สะสมได้มากกว่า

การเรียนระบบพรีดีกรีเหมือนเป็นการออมเงิน ถ้าออมเงินตั้งแต่ทุกๆเดือนต้ังแต่มกราคม เงินสะสมก็คงมากกว่าคนที่เริ่มออมเงินเดือนตุลาคมแน่นอน ก็เหมือนกับการสะสมหน่วยกิตของระบบพรีดีกรี เช่น ถ้าสมัครเรียนพรีดีกรีขณะที่กำลังเรียนชั้นอยู่ ม.4 หรือ ปวช.1 ก็จะมีระยะเวลาสะสมหน่วยกิตยาวถึง 3 จนกว่าจะเลื่อนสถานะจบชั้น ม.6 หรือ ปวช.3 ,แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนที่กำลังเรียน ม.5-6 หรือ ปวช.2-3 จะสมัครไม่ได้นะ คุณสามารถสมัครพรีดีกรีได้ แต่ระยะเวลาสะสมหน่วยกิจอาจน้อยกว่าคนที่เริ่มต้นก่อนเท่านั้นเอง

ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นขณะเรียน/หลังเรียนพรีดีกรี

1. ค่าใช้จ่ายในการสมัคร(ต้องจ่ายแน่ๆในวันสมัคร)

ค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนครั้งแรก ส่วนภูมิภาค : ไม่เกิน 4,080 บาท
ค่าลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาต่อ ๆ ไป ส่วนภูมิภาค : ไม่เกิน 2,000 บาท
*อัตราค่าใช้จ่ายการลงทะเบียนเรียนขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน หากลงทะเบียนหน่วยกิตในภาคเรียนนั้นๆมาก ค่าใช้จ่ายจะมากตามไปด้วย ซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนดให้ลงทะเบียนเรียนอย่างน้อย 9 หน่วยกิต/ภาคเรียน เท่านั้น แต่นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้สูงสุดถึง 22 หน่วยกิต

2. ค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนระบบจากพรีดีกรีให้เป็นระบบปกติ(ต้องจ่ายในอนาคต)

ค่าใชัจ่ายนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ นักศึกษาพรีดีกรีเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า(ปวช. กศน.)แล้ว ต้องนำวุฒิการศึกษานี้มาสมัครเป็นนักศึกษา ป.ตรี ภาคปกติ และเทียบโอนหน่วยกิตที่สะสมได้เข้าสู่ระบบปกติด้วย โดยแบ่งเป็นค่าใช้จ่าย 2 ส่วน คือ
2.1 ส่วนภูมิภาค : ค่าสมัครและลงทะเบียนเรียน ไม่เกิน 4,730 บาท
2.2 ค่าเทียบโอนหน่วยกิต หน่วยกิตละ 50 บาท เช่น หากสะสมระหว่างเรียนพรีดีกรีได้ 60 หน่วยกิต จะเป็นเงินค่าเทียบโอน 60×50= 3,000 บาท
** เงินค่าสมัครและลงทะเบียนเรียน(2.1)จำเป็นต้องชำระในวันสมัคร แต่ค่าเทียบโอนหน่วยกิต(2.2)สามารถชำระได้ภายหลังโดยไม่มีค่าปรับ หากไม่ชำระค่าเทียบโอนในส่วนที่เหลือนักศึกษาจะขอจบการศึกษาไม่ได้


หลักสูตรและระเบียบการรับสมัครนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี ส่วนภูมิภาค